"สายตาสั้นเทียม" เกิดได้กับทุกคน

27 ต.ค. 58 10:38 น. / ดู 951 ครั้ง / 1 ความเห็น / 1 ชอบจัง / แชร์
ภาวะสายตาสั้นเทียม หมายถึงภาวะกล้ามเนื้อตา (Ciliary muscle) มีการหดเกร็งมากผิดปกติ เกิดภาวะการมองเห็นที่ผิดปกติเหมือนคนสายตาสั้น ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จะรู้สึกว่าพอเงยหน้ามองไปไกลๆจะมองแล้วไม่ชัด ในปัจจุบันจะพบเจอได้มากขึ้น เนื่องจากการใช้งานเทคโนโลยีจ้องมองผ่านจอต่างๆในระยะใกล้มากขึ้น
สาเหตุ
เกิดจากการมองเพ่งจ้องในภาวะใกล้เป็นระยะเวลาติดต่อกันนานมากเกินไป เช่น การเพ่งจ้องสมาร์ทโฟน แทปเล็ต การใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การอ่านหนังสือในระยะใกล้




โดยปกติเมื่อมองในระยะใกล้ จะมีกล้ามเนื้อตาเล็กๆ ทำหน้าที่ควบคุมการป่องขยายเลนส์ตา ซึ่งเมื่อมองในระยะใกล้กล้ามเนื้อนี้จะหดตัวทำให้เลนส์ตาป่องขึ้น ดังนั้นเมื่อคนเราจ้องมองวัตถุใดๆเป็นระยะเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อตา (Ciliary muscle) เกิดการหดเกร็งเป็นเวลานาน

โดยธรรมชาติเมื่อเรามองใกล้หรือไกลกล้ามเนื้อส่วนนี้จะมีการยืดหยุ่น หดเกร็งและคลายตัวเข้าออกเองตามธรรมชาติ คืนรูปอัตโนมัติ แต่เมื่อมีการใช้สายตาเพ่งจ้องนานเกินไปอาจทำให้เกิดการหดเกร็งค้าง ทำให้เมื่อละสายตาจากสิ่งที่กำลังเพ่งจ้องมองไปไกลๆ อาจเกิดภาวะมองไกลแล้วเบรอค้างอยู่

รู้ได้อย่างไรว่าเกิดภาวะสายตาสั้นเทียม

โดยปกติแล้วสายตาสั้นจริงจะค่อยๆเกิดขึ้น จะรู้สึกสายตามัวขึ้นอาจใช้ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงเป็นเดือนหรือเป็นปี แต่เมื่อเกิดภาวะสายตาสั้นเทียม จะสังเกตุได้ว่าอาการมองอะไรแล้วเบรอ ไม่ชัดพึ่งเกิดขึ้นระยะเวลาอันสั้น อาจ 1-2 อาทิตย์ที่มีที่ผ่านมา ซึ่งอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นเฉียบพลันต่างกับภาวะสายตาสั้นจริงๆที่ค่อยๆเกิดขึ้น

การป้องกันและรักษา
ละสายตาออกจากกิจวัฒที่ทำในระยะใกล้ ที่จ้องมองในระยะ 1 -2 ฟุต เช่นการใช้สมาร์ทโฟน, แทบเล็ต, มองจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การอ่านหนังสือ ควรใช้สายตาให้ถูกวิธี เมื่อจ้องมองไปเป็นระยะเวลา 15-20 นาทีควรพักสายตาเงยหน้ามองออกไปที่ไกลๆ หรือปฏิบัติตามกฎ 20-20-20  คือทุกยี่สิบนาทีมองไปที่บางสิ่งบางอย่างอย่างน้อยยี่สิบฟุตห่างเป็นเวลาอย่างน้อยยี่สิบวินาที

กรณีที่ไม่อาจละสายตาเพ่งจ้องได้ในบางอาชีพที่ต้องจดจ้องเป็นเวลานานๆ เมื่อพักสายตาแล้วอาการดังกล่าวไม่ดีขึ้น ควรเข้ารับคำปรึกษาจากจักษุแพทย์


LASIK Laservision ,2014 ,มารู้จักกับสายตาสั้นเทียม ,verify by Dr. Tasanee Sirikul ,Laservision International LASIK Center
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย WinXP

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google