วิธีป้องกันไม่ให้มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หรือปวดคอร้าวลงแขน ที่ควรรู้

18 ส.ค. 65 16:20 น. / ดู 1,506 ครั้ง / 2 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

                อาการปวดคอ บริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ หรือปวดคอร้าวลงแขน ถือเป็นอีกหนึ่งอาการยอดฮิตที่พบได้ในผู้ป่วยหลากหลายอาชีพ โดยเฉพาะหนุ่มสาวชาวออฟฟิศ ที่จะต้องนั่งอยู่ในลักษณะท่าเดิม ๆ และเป็นระยะเวลานานในแต่ละวัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการปวดคอ ซึ่งสาเหตุของอาการปวดคอส่วนใหญ่มักเกิดจากการใช้งานไม่ถูกท่า การนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง การก้มใช้งานมือถือ ทำให้ต้องก้มคอตลอดเวลา ซึ่งส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งตัว ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามบริเวณต้นคอและสะบักทั้ง 2 ข้าง ในบางครั้งที่มีอาการปวดต้นคออย่างรุนแรง อาจจะเกิดเนื่องจากหมอนรองกระดูกต้นคอเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการบวมและอักเสบของเส้นประสาท นอกจากนี้ตัวหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนออกมานั้นจะมีสารที่ทำให้เกิดการอักเสบโดยตรงต่อเส้นประสาท จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดคอร้าวลงแขนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในการป้องกันไม่ให้ปวดคอนั้นเราสามารถทำได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เหล่านี้
                วิธีป้องกันไม่ให้มีอาการปวดคอร้าวลงแขน

1.การปรับเปลี่ยนท่าทางและการใช้ชีวิตประจำวัน พยายามหลีกเลี่ยงการนั่งอ่านหนังสือนาน ๆ การก้มคอใช้โทรศัพท์มือถือ การแหงนศีรษะ เมื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานจำเป็นต้องปรับตำแหน่งของจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา การเปลี่ยนอิริยาบถในขณะทำงานกับจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ แม้กระทั่งการนอนดูโทรทัศน์นาน ๆ ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดคอได้ ดังนั้น ควรมีการปรับท่าทางให้เหมาะสม เช่น ควรนั่งดูโทรทัศน์มากกว่าการนอน ไม่ก้มคอใช้งานโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
 
2. การทำกายภาพบำบัดด้วยการดึงคอ เป็นการใช้แรงดึงกระทำต่อร่างกายและกระดูกสันหลังส่วนคอ ช่วยทำให้ช่องระหว่างกระดูกสันหลังส่วนบริเวณคอกว้างขึ้น ลดการกดทับเส้นประสาท ช่วยในการยืดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังมีการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงช่วยในการบำบัดรักษา คลื่นเหนือเสียงที่มีความถี่ 20,000 รอบต่อนาที ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดความร้อนลึกเฉพาะที่ ส่งผลในการช่วยลดอักเสบ อาการปวด เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ ช่วยทำให้อาการของผู้ป่วยทุเลาลง

3.การรับประทานยาลดปวด ยาลดการอักเสบ ซึ่งยาจะออกฤทธิ์ในการลดปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งยาแต่ละชนิดก็ออกฤทธิ์แตกต่างกัน ก็ช่วยทำให้อาการปวด อาการชาทุเลาลงได้ ข้อควรระวังในการใช้ยาลดการอักเสบคือต้องรับประทานยาหลังอาหารทันทีเพราะอาจจะมีผลทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร และไม่ควรรับประทานต่อเนื่องนานเกิน 1 เดือน

4. การฉีดยาชาระงับปวดเข้าไประหว่างชั้นกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่มีอาการเกร็งตัว เพื่อลดการนำสื่อประสาท จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อตรงบริเวณคอ และบริเวณบ่าและกล้ามเนื้อรอบ ๆ สะบักคลายตัวลง ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ จะช่วยลดอาการปวดได้ดีมากโดยเฉพาะในช่วงระยะ 2 สัปดาห์หลังการฉีด

                ซึ่งอาการอาการปวดคอ บริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ หรือปวดคอร้าวลงแขน ส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าอาการที่เป็นรุนแรงถึงขั้นเป็นหมอนรองกระดูกกดทับไขสันหลัง บางครั้งมาพบแพทย์เมื่ออาการรุนแรงแล้ว เช่น เสียการทรงตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ควบคุมความสมดุลของร่างกายไม่ดี หกล้มง่าย หรือใช้มือทำงานที่มีความละเอียดไม่ได้ ดังนั้น ควรสังเกตอาการหรือความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ แล้วรีบมาพบแพทย์เพื่อที่จะได้ทำการรักษาทันค่ะ

#ปวดคอร้าวลงแขน
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | asider | 18 ส.ค. 65 17:04 น.

มีประโยชน์มากค่าา

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | Slowlife | 19 ส.ค. 65 14:02 น.

ตอนนี้ปวดหลังมากค่า ต้องเลิกนั่งก้มๆเวลาทำงานแล้ว

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google